มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน

ระบบนิเวศวิทยาสังคม (Social Ecology)

พบกันในรอบ 6 เดือน ผ่านช่วงที่ทีมงานคลุกกับการดูแล เฝ้าระวังภัยสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมาพบกันครั้งนี้ การเรียนรู้จากเวทีวันนี้ ทำให้เราพบว่า การแก้ไขปัญหาที่มาจากเหตุ ปัจจัยที่มีความซับซ้อนไม่ใช่ 1 เหตุ 1 ผลดังที่เราเข้าใจอีกต่อไประบบนิเวศวิทยาสังคม (Social Ecology) :จึงเป็นแนวคิดสำคัญ ที่คนทำงานในโครงการทุกส่วน นำมาเป็นแนวทางการออกแบบ Data Power ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมจากองคาพยพทางสังคมในระบบนิเวศชุมชน/ท้องถิ่นนั้น ได้ "ตื่นรู้" จากการได้เห็นความจริงทั้งระบบและคัดเลือก "ปัญหาและจุดที่จะเข้าไปดำเนินการ" ปกป้องคุ้มครอง เยียวยารักษา และส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชากรทุกช่วงวัยมีสุขภาวะที่ดี รู้เท่าทันและดำเนินการลด/ควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสมสิ่งสำคัญที่สุด ของการทำเรื่องยาก ๆ และมีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลงเร็ว คือ"การรักษาพลังของทีม" "ความเข้าใจกัน และพร้อมที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูลกันอยู่เสมอ" "เปิดให้ทดลอง เพื่อร่วมกันเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ"
ขอบคุณพี่ใหญ่(คุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ) ที่มาช่วยเปิดมุมมอง data power ที่เชื่อมโยงกับSocial Ecology และบทบาทของทีมแกนนำ social protection ให้ทีมภาคอีสานได้ ปิ๊งแว๊ป!
ขอบคุณทีมแกนนำ active ตำบล 9 พื้นที่ ที่ร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นอยู่ และการทำงานที่ผ่านมา
ขอบคุณทีมพี่น้องคณะทำงานภาคอีสานทุก ๆ คน (พี่เล็ก อ.ใหม่ น้องนาง น้องแมน น้องสุวิทย์ น้องติ๊ก น้องเอ็ม และน้องใหม่) ที่มาช่วยกันต่อเติมพลัง ความรู้ และประสบการณ์กันในทุกเรื่องราว
....
24 ก.ย.2564
...
#สสส.สำนัก1

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

^